ค้นหา

วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556

มโนราห์

   มโนราห์ หรือ “โนรา” ที่คนใต้เรียกชื่อกล่าวขานกัน แรกเริ่มได้เกิดขึ้นในสมัยอยุธยา ได้รับอิทธิพลจากอินเดียโบราณ มีเครื่องดนตรี
ประกับ คือ โหม่ง ฉิ่ง ทับ กลอง ปี่ เรียกว่า เบ็ญจสังคีต ซึ่งเกิดขึ้นครั้งเรียกที่ เมืองพัทลุง หรือปัจจุบันคือ ตำบลบางแก้ว จังหวัดพัทลุง เป็น
ศิลปะถ่ายทอดมาจากรุ่นบรรพชนสู่รุ่นลูก รุ่นหลาน จนสืบกันมาจนถึงปัจจุบันนี้


เครื่องดนตรีของมโนราห์ประกอบไปด้วย
          ๑. ทับ (โทนหรือทับโนรา)
          ๒. กลอง เป็นกลองทัดขนาดเล็ก
          ๓. ปี่ เป็นเครื่องเป่าเพียงชิ้นเดียว
          ๔. โหม่ง คือ ฆ้องคู่
          ๕. ฉิ่ง
          ๖. แตระ หรือ แกระ คือ กรับ มี ทั้งกรับ

เครื่องแต่งกายของมโนราห์ ประกอบด้วยสิ่งสำคัญต่อ ไปนี้
          ๑. เทริดเป็นเครื่องประดับ ศรีษะของตัวนาย ๒.เครื่องลูกปัด เครื่องลูกปัดจะร้อยด้วยลูกปัดสี ๓. ปีกนกแอ่น หรือ ปีกเหน่ง มักทำด้วย
แผ่นเงินเป็นรูปคล้ายนก ๔. ซับ ทรวง หรือทับทรวง หรือตาบ สำหรับสวมห้อยไว้ตรงทรวงอก ๕. ปีก หรือที่ชาวบ้าน เรียกว่า หางหรือหางหงส์
นิยมทำด้วยเขาควาย มีพู่ทำด้วยด้ายสีติดไว้ เหนือปลาย ปีก ใช้ลูกปัดร้อยห้อยเป็นดอกดวงรายตลอด ๖. ผ้านุ่ง เป็นผ้ายาวสี่เหลี่ยมผืนผ้า
๗. เพลา เหน็บเพลา หนับเพลา ก็ คือ สนับเพลา สำหรับ สวมแล้วนุ่งผ้าทับ ๘. หน้าผ้า ลักษณะเดียวกับชายไหว ถ้าเป็นของโนราใหญ่
๙. ผ้าห้อย คือ ผ้า สีต่าง ๆ ที่คาดห้อยคล้ายชายแครง ๑๐. กำไล ต้นแขนและปลายแขน เป็นกำไลสวมต้นแขน เพื่อขบรัดกล้ามเนื้อให้ดูทะมัด
ทะแมงและเพิ่มให้สง่างามยิ่งขึ้น ๑๑. กำไล กำไลของโนรามัก ทำด้วยทองเหลือง ทำเป็น วงแหวน ใช้สวมมือ และเท้าข้างละหลาย ๆ วง
๑๒. เล็บ เป็นเครื่องสวมนิ้ว มือให้โค้งงาม คล้ายเล็บกินนร ๑๓. หน้าพราน เป็นหน้ากากสำหรับตัว "พราน" ซึ่ง เป็นตัวตลก ๑๔. หน้าทาสี หน้า
ผู้หญิง มักทาสีขาว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น