ค้นหา

วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การแสดงพื้นเมือง

 การแสดงพื้นเมืองภาคใต้

          ศิลปะการรำและการละเล่นของชาวพื้นบ้านภาคใต้อาจแบ่งตามกลุ่มวัฒนธรรมได้ 2 กลุ่มคือ
          - วัฒนธรรมไทยพุทธ ได้แก่ การแสดงโนรา หนังตะลุง เพลงบอก เพลงนา

          - วัฒนธรรมไทยมุสลิม ได้แก่ รองเง็ง ซำแปง มะโย่ง (การแสดงละคร) ลิเกฮูลู (คล้ายลิเกภาคกลาง) และซิละ

           1. โนรา เป็นนาฏศิลป์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในบรรดาศิลปะการแสดงของภาคใต้ มีความยั่งยืนมานับเป็นเวลาหลายร้อยปี การแสดงโนราเน้นท่ารำเป็นสำคัญ ต่อมาได้นำเรื่องราวจากวรรณคดีหรือนิทานท้องถิ่นมาใช้ในการแสดงเรื่อง พระสุธนมโนห์รา เป็นเรื่องที่มีอิทธิพลต่อการแสดงมากที่สุดจนเป็นเหตุให้เรียกการแสดงนี้ว่า มโนห์รา

         
    
วิธีการแสดง 

          การแสดงโนราเริ่มต้นจากการลงโรง (โหมโรง) กาดโรงหรือกาดครู (เชิญครู) "พิธีกาดครู" ในโนราถือว่าครูเป็นเรื่องสำคัญมาก ฉะนั้นก่อนที่จะรำจะต้องไหว้ครู เชิญครูมาคุ้มกันรักษา หลายตอนมีการรำพัน สรรเสริญครู  สรรเสริญคุณมารดา เป็นต้น

การแต่งกาย

          การแต่งกายของโนรา ยกเว้นตัวพรานกับตัวตลก จะแต่งเหมือนกันหมด ตามขนบธรรมเนียม เดิมการแต่งกายก็ถือเป็นพิธีทางไสยศาสตร์ ในพิธีผูกผ้าใหญ่ (คือพิธีไหว้ครู) จะต้องนำเทริดและเครื่องแต่งกายชิ้นอื่น ๆ ตั้งบูชาไว้บนหิ้ง หรือ "พาไล" และเมื่อจะสวมใส่เครื่องแต่งกายแต่ละชิ้นจะมีคาถากำกับ โดยเฉพาะการสวม "เทริด" ซึ่งมักจะต้องใช้ผ้ายันต์สีขาวโพกศีรษะเสียก่อนจึงจะสวมเทริดทับ

         เทริด คือ เครื่องสวมหัวโนรา เดิมนั้นเทริดเป็นเครื่องทรงกษัตริย์ทางอาณาจักรแถบใต้ อาจเป็นสมัยศรีวิชัยหรือศรีธรรมราช เมื่อโนราได้เครื่องประทานจากพระยาสายฟ้าฟาดแล้วก็เป็นเครื่องแต่งกายของโนราไป สมัยหลังเมื่อจะทำเทริดจึงมีพิธีทางไสยศาสตร์เข้าไปด้วย

วงดนตรีประกอบ

          เครื่องดนตรีโนรามี 2 ประเภท คือ

          1. ประเภทเครื่องตี ได้แก่ กลองทับ โหม่ง (ฆ้องคู่) ฉิ่ง แกระหรือแตระ (ไม้ไผ่ 2 อัน ใช้ตีให้จังหวะ)

          2. ประเภทเครื่องเป่า ได้แก่ ปี่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น