เรือนไทยภาคใต้
ลักษณะทั่วไป
เรือนส่วนใหญ่จะวางเสาไว้บนตอหม้อตีนเสาซึ่งจะก่ออิฐฉาบปูนเมื่อต้องการจะทำการย้ายบ้านก็จะ ปลดกระเบื้องลงตีไม้ยึดโครงสร้างเสาเป็นรูปกากบาทแล้วใช้คนหามย้ายไปตั้งในที่ที่ต้องการนำกระเบื้องขึ้นมุงใหม่ ส่วนใหญ่จะใช้ไม้ในการก่อสร้างรูปทรงของเรือนเป็นเรือนไม้ ใต้ถุนสูงประมาณคนก้มตัวลอดผ่านได้ เสาทุกต้นไม่ฝังลงดินเพราะว่าดินมันชื้น และก็จะทำให้เสาผุเร็ว แต่จะตั้งอยู่บนแผ่นปูนหรือแผ่นหินเรียบ ๆ ที่ฝังอยู่ ในดินให้โผล่ขึ้นมาจากพื้นดินไม่เกิน 1 ฟุต เพื่อกันมิให้ปลวกกัดตีนเสาและกันเสาผุจากความชื้นของดิน
เรือนไทยภาคใต้ที่พบเห็นทั่วไปในภาคใต้แบ่งออกเป็น
บ้านหลังคาจั่ว เป็นรูปจั่วตรงมุงด้วยกระเบื้อง ประดับเชิงชายและช่องลมด้วยไม้ฉลุ ตัวเรือนใต้ถุนยกสูง มีระเบียงและนอกชาน
บ้านหลังคาปั้นหยา เป็นบ้านใต้ถุนสูง หลังคามุงกระเบื้อง รูปทรงลาดเอียงสี่ด้านไม่มีจั่ว ตรงรอยตัดเหลี่ยมหลังคาครอบด้วยปูนกันฝนรั่วลงบ้าน เป็นแบบหลังคาที่แข็งแรง ต้านลมพายุได้ดีค่ะ มักพบมากแถวสงขลา
ฝรั่งเรียกทรงหลังคาแบบนี้ว่า "ทรงฮิปส์"
บ้านหลังคามนิลา หรือเรียกว่าแบบ บรานอร์ เป็นบ้านหลังคาจั่วผสมหลังคาปั้นหยา คือส่วนหน้าจั่วอยู่ข้างบนสุดแต่สร้างค่อนข้างเตี้ย ด้านล่างลาดเอียงลงมา รับกับหลังคาด้านยาวซึ่งลาดเอียงตลอด เป็นเรือนใต้ถุน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น